เมนู

บอกธรรมที่ข้าพระองค์ควรรู้ อันเป็นเครื่อง
ละชาติและชราในอัตภาพนี้เถิด.
พ. ดูก่อนปิงคิยะ เมื่อท่านเห็นหมู่
มนุษย์ผู้ถูกตัณหาครอบงำแล้ว เกิดความ
เดือดร้อน อันชราถึงรอบข้าง ดูก่อนปิงคิยะ
เพราะเหตุนั้น ท่านจงเป็นคนไม่ประมาทละ
ตัณหาเสีย เพื่อความไม่เกิดอีก.

จบปิงคิยมาณวกปัญหาที่ 16

อรรถกถาปิงคิยสูตรที่ 16


ปิงคิยสูตร

มีคำเริ่มต้นว่า ชิณฺโณหมสฺมิ ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า ชิณฺโณหมสฺมิ อพโล วีตวณฺโณ ข้า-
พระองค์เป็นคนแก่ มีกำลังน้อย ผิวพรรณเศร้าหมอง คือ นัยว่า พราหมณ์
นั้นถูกชราครอบงำมีอายุได้ 120 ปีโดยกำเนิด มีกำลังน้อย คิดว่า เราจักทำ
ให้ถึงบทในที่นี้ กลับทำเสียในที่อื่น และมีผิวพรรณเศร้าหมอง ด้วยเหตุนั้น
ปิงคิยะจึงกล่าวว่า ชิณฺโณหมฺสฺมิ อพโล วีตวณฺโณ ดังนี้. บทว่า มาหมฺ
ปนสฺสํ โมมูโห อนฺตราย
ข้าพระองค์อย่าได้เป็นคนหลงฉิบหายเสียใน
ระหว่างเลย คือ ข้าพระองค์ยังไม่ทำให้แจ้งซึ่งธรรมของพระองค์ ยังเป็นผู้
ไม่รู้แจ้ง อย่าได้ฉิบหายเสียในระหว่างเลย. บทว่า ชาติปราย อิธ วิปฺปหานํ
ธรรมเป็นเครื่องละชาติและชราในที่นี้ คือ ขอพระองค์จงทรงบอกธรรมเป็น
เครื่องละชาติและชรา คือ นิพพานธรรม ณ บาทมูลของพระองค์หรือ ณ
ปาสาณกเจดีย์นี้ ที่ข้าพระองค์ควรรู้เถิด.

บัดนี้ เพราะปิงคิยะกล่าวคาถาว่า ชิณฺโณหมสฺมิ เพราะเพ่งในกาย
ฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อให้ปิงคิยะนั้นละความเยื่อใยในกายเสียจึงตรัส
ว่า ทิสฺวาน รูเปสุ วิหญฺญมาเน ชนทั้งหลายได้เห็นเหล่าสัตว์ผู้เดือดร้อน
ในเพราะรูป ดังนี้.
ในบทเหล่านั้น บทว่า รูเปสุ คือเพราะรูปเป็นเหตุเป็นปัจจัย. บทว่า
วิหญฺญมาเน คือ เดือดร้อนอยู่ด้วยกรรมกรณ์เป็นต้น. บทว่า รูปฺปนฺติ
รูเปสุ
ย่อมย่อยยับในเพราะรูปทั้งหลาย คือ ชนทั้งหลายย่อมย่อยยับย่อมลำบาก
ด้วยโรคทั้งหลายมีโรคตาเป็นต้น เพราะรูปเป็นเหตุ.
ปิงคิยะแม้ฟังข้อปฏิบัติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสจนถึงพระอรหัตแล้วก็
ยังไม่บรรลุธรรมวิเศษ เพราะความชราและกำลังน้อย เมื่อจะสรรเสริญพระผู้มี-
พระภาคเจ้าด้วยคาถานี้อีกว่า ทิสา จ ตสฺโส ทิศใหญ่สี่ดังนี้ จึงวิงวอนขอให้
เทศนา. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิปทาจนถึงพระอรหัต
แก่ปิงคิยะอีกจึงตรัสคาถาว่า ตณฺหาธิปนฺเน หมู่มนุษย์ถูกตัณหาครอบงำแล้ว
ดังนี้เป็นต้น. บทที่เหลือในบททั้งปวงชัดเจนดีแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรง
แสดงพระสูตรแม้นี้ ด้วยธรรมเป็นยอดคือพระอรหัตนั่นแล.
อนึ่ง เมื่อจบเทศนาปิงคิยะได้ตั้งอยู่ในอนาคามิผล. นัยว่าปิงคิยะนั้น
คิดในระหว่าง ๆ ว่า พาวรีพราหมณ์ผู้เป็นลุงของเราไม่ได้ฟังเทศนาอันวิจิตร
เฉียบแหลมอย่างนี้ จะมีประโยชน์อะไรด้วยการฟังของเรา เพราะความฟุ้งซ่าน
ด้วยความเยื่อใยนั้นปิงคิยะจึงไม่ได้บรรลุพระอรหัต. ส่วนชฎิล 1,000 ที่เป็น
อันเตวาสิกของปิงคิยะนั้นได้บรรลุพระอรหัต. ทั้งหมดทรงบาตรและจีวรสำเร็จ
ด้วยฤทธิ์ได้เป็นเอหิภิกขุ ด้วยประการฉะนี้.
จบอรรถกถาปิงคิยสูตรที่ 16 แห่งอรรถกถาขุททกนิกาย
ชื่อปรมัตถโชติกา

ปารายนานุสังคีติคาถา


ว่าด้วยความแก่กล้าแห่งอินทรีย์ของมาณพ 16 คน


[441] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ อยู่ ณ ปาสาณกเจดีย์ใน
มคธชนบทได้ตรัสปารายนสูตรนี้ อันพราหมณ์มาณพ 16 คน ผู้เป็นบริวาร
ของพราหมณ์พาวรี ทูลอาราธนาแล้ว ได้ตรัสพยากรณ์ปัญหา แม้หากว่า
การกบุคคลรู้ทั่วถึงอรรถ รู้ทั่วถึงธรรมแห่งปัญหาหนึ่ง ๆ แล้วพึงปฏิบัติธรรม
อันสมควรแก่ธรรมไซร้ การกบุคคลนั้น ก็พึงถึงฝั่งโน้นแห่งชราและมรณะได้
แน่แท้ เพราะธรรมเหล่านี้ เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่การถึงฝั่งโน้น เพราะ
เหตุนั้น คำว่า ปารายนะ จึงเป็นชื่อแห่งธรรมปริยายนี้.
[442] พราหมณ์มาณพผู้อาราธนา
ทูลถามปัญหา 16 คนนั้น คือ อชิตมาณพ 1
ติสสเมตเตยยมาณพ 1 ปุณณกมาณพ 1
เมตตคูมาณพ 1 โธตกมาณพ 1 อุปสีว-
มาณพ 1 นันทมาณพ 1 เหมกมาณพ 1
โตเทยยมาณพ 1 กัปปมาณพ 1 ชตุกัณณี-
มาณพผู้เป็นบัณฑิต 1 ภัทราวุธมาณพ 1
อุทยมาณพ 1 โปสาลพราหมณ์มาณพ 1
โมฆราชมาณพผู้มีปัญญา 1 ปิงคิยมาณพผู้
แสวงหาคุณอันใหญ่ 1 พราหมณ์มาณพทั้ง